วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาเหตุของอาการปวดหลัง


สาเหตุของอาการปวดหลัง
1 ปวดที่บริเวณหลังไม่มีจุดใดจุดหนึ่งจะเป็นการปวดจากโรคจากอวัยวะอื่นๆที่นอกเหนือจากกระดูกสันหลัง
2 เจ็บปวดที่กระดูกสันหลังโดยจะปวดเฉพาะกระดูกสันหลังเท่านั้นเองไม่ปวดร้าวไปที่ใดที่หนึ่งและไม่มีผลต่อระบบประสาท คือ ไขสันหลังยังไม่ถูกกระทบกระเทือน
3 ปวดหลังซึ่งเกิดร่วมกับการมีอาการปวดเสียวตามประสาท โดยเฉพาะการปวดเสียวมาที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือว่าเสียวสองข้างอาจทำให้มีอาการชาขาไม่มีแรงการปวดแบบนี้จะรุนแรงและมีการคดหรือเบียดกับเส้นประสาท




อาการปวดหลังและเสียวไปที่ตนขา
        เป็นภาวะกระดูกกดทับเส้นประสาทจำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางกระดูก และx-ray ดูกระดูกสันหลัง อีกทั้งการตรวจเลือดดูภาวะของไต และตรวจปัสสาวะ


 กระดูกสันหลังเสื่อมหรือหมอนรองกระดูก
            หมอนรองกระดูกในหลังมีความยืดหยุ่นทำหน้าทีเหมือนโช้คอัพกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอการใช้งานมากกว่าระดับอื่นจึเสื่อมง่ายกว่า
           หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะที่การเคลื่อนทีไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนขาที่เส้นประสาทนั้นๆไปเลี้ยงก็ได้
           ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะทีผลทำให้ข้อกระดูก สันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
อาการปวดหลังจากโรคไต
            มักจะทีอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งอาจนะมีลักษณะของปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วหลุดออกมาด้วยเหมือนเศษทรายเล็กๆ แต่บางคนอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากนิ่วได้ เช่น กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อ ท่อไต หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากนิ้ว อุดตันนานๆ เข้าจะทำให้เกิดไตวายได้

โรคนิ่วของทางเดินปัสสาวะ
             เกิดจากก้อนหินปูนอยู่ภายในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะไหลลงมา อาจติดอยู่ที่ท่อไต นิ่วที่ท่อไต หรือถ้าก้อนเล็กก็ลงมาเรื่อยๆ จนออกมากับปัสสาวะ โรคนิ่วพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ในประเทศไทย พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
             ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตเป็นหินปูนหรือแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆหรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์   ทำงานมากเกินไป  ซึ่งทำให้แคลเซียนในเลือดสูง นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์

นิ่วที่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจปัสสาวะ
           จะตรวจพบว่ามีเม็ดเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสีเมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคของทางเดินปัสสาวะ แพทย์จำเป็นต้องตรวจป้สสาวะของผู้ป่วยเพื่อให้มีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การตรวจปัสสาวะป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัย โรคต่างๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่นโรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะกรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคอื่นๆ

การรักษา
             คือ การรักษาให้หายจากอาการเจ็บปวดโดยรับประทานยาแก้ปวด หรือหากมีอาการมากอาจจะต้องฉีดยาแก้ปวดให้ ขั้นต่อไป คือ เอาตัวนิ่วนั้นออก หากนิ่วนั้นมีขนาดเล็กก็อาจหลุดออกมาได้โดยไห้ดื่มน้ำมากๆ และปัสสาวะเยอะๆ ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะหลุด จาดท่อปัสสาวะมาได้ ก็อาจจะมีอาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาออก การผ่าตัดอาจใช้วิธีผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง หรือผิวหนังที่บริเวณไต การส่องกล่องคีบเอาก้อนนิ่วออกมาทางท่อทางเดินปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการรักษาที่เรียกว่าการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เสียงนั้นสั่นสะเทือนเข้าไปในท้องไปสลายให้นิ่วนั้นแตกออกมาเป็นชิ้นเล็กๆแล้วดื่มน้ำมากๆ นิ้วนั้นก็จะหลุดออกมาจากปัสสาวะถ้ามีอาการติดเชื้อ พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน , โคไตรม็อกซาโซล หรือนอกร์ฟล็อกซาซิน เช่นเดียวกับการรักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลันส่วนการสลายนิ่วโดยใช้เครื่องสลายนิ่วแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องที่สอดใส่เครื่องมือผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายเพื่อเข้าไปสลายนิ่วและเครื่องที่ปล่อยพลังงานของแรงกระแทกจากภายนอกร่างกายเข้าไปเพื่อทำให้นิ่วแตก
โรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานคือ มีญาติสายตรง ( พ่อ แม่ พี่ น้อง ) ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงานและยาที่แพทย์กำหนดให้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดที่มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ  เช่น
2.    อาหารหมุ่ข้าว แป้ง พบว่ารับประทานข้าวต้ม 2 ทัพพีจะให้พลังงานเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ
3.    อาหารหมู่ผัก พบว่าการรับประทานผักสด 1 ถ้วยตวง จะให้พังงานเท่ากับผักสุกครึ่งถ้วยตวง
4.    อาหารหมู่ผลไม้ พบว่าการรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผลจะให้ผลังงานเทียบเท่ากับเงาะ 6 ผล , ชมพู่ 4 ผล ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะม่วงครึ่งผล เป็นต้น
5.    อาหารหมู่เนื้อสัตว์ ไข่ และนม พบว่าการรับประทานเนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเท่ากับเนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ลูกชิ้น 5-6 ลูก
6.    หมวดไขมัน พบว่ามีการรับประทานน้ำมันหมู 1 ช้อนชา จะให้พลังงานเท่ากับเนยสด 1 ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนชา น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
7.    ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
8.    ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
9.    ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน ไมโล และโกโก้ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
10.           ควรหลีกเลียงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ
เรื่องท้องผูก มี 4 สาเหตุคือ
1.การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่และทวารผิดปกติ
2. เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆเช่น เบาหวาน โรคต่อมธัยรอยด์ โรคทางระบบประสาท
3. ผลจากการกินยาบางชนิด เช่นยาแก้ปวดท้อง ยารักษาโรคความดันโลหิตสูง
4. เกิดจากการอุดตันของลำไส้ เช่น จากเนื้องอก หรือ มะเร็งลำไส้



มะเร็งลำไส้ใหญ่
จะพบมากในคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ลักษณะอาการจะขึ้นอยู่ในตำแหน่งที่เป็นโรคมะเร็งในระยะแรกๆ เมื่อเริ่มเป็นอาจจะไม่มีอาการอะไรเลย หรือมีเพียงอาการปวดท้องเล็กน้อย มีอาการเป็นพักๆ หรือ อาจจะมีอาการเป็นพักๆ หรืออาจจะมีอาการท้องเดินสลับกับท้องผูก ความจริงในระยะนี้มักมีเลือดปนออกมากับอุจจาระ ในกรณี ที่เป็นมากผู้ป่วยจะมีอาการผอมลง  มีอาการตีนตับของลำไส้ใหญ่ ดังนั้นผู้ที่มีอายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          
             โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ใหญ่
           ส่วนใหญ่รักษาหายขาดถ้าสามารถวินิจฉัยได้เร็ว โดยตัวมะเร็งนั้นเกิดจากการที่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกซึ่งแบ่งเป็น
เนื้องอกที่ร้ายแรงสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ ไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ส่วนมะเร็งหรือเนื้องอกชนิดร้ายแรงนั้นจะสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองได้ มักจะพบร่วมปัจจัยต่างๆดังนี้ คือ
มักพบมากในผู้ป่วยสูงอายุมากกว่า 50 ปี แต่ก็สามารถพบในอายุน้อยได้ กลุ่มคนที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงและใยอาหารน้อย หรือมีเนื้องอกในลำไส้ใหญ่อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังพบว่า มีแนวโน้มเป็นมะเร็งในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก เต้านม หรือมี พ่อแม่ น้อง เป็นมะเร็งมาก่อน
อาการของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบบ่อย คือ
มี อุจจาระเหลวกับอุจจาระแข็งสลับกันบางครั้งเหมือนถ่ายไม่หมด มีเลือดปนอุจจาระ อุจจาระลำไส้เล็กกว่าปกติท้องอืดแน่นท้องตลอดเวลา น้ำหนักลด อาเจียน แพทย์จะทำการวินิจฉัย โดยการตรวจร่างกายร่วมกับใช้นิ้วมือตรวจทางทวารหนัก และตรวจหาเลือดในอุจจาระ เมื่อมีการสงสัยก็จะใช้การส่องกล้อง มีทั้งการส่องดูแค่ลำไส้ส่วนต้น และส่องดูลำไส้ใหญ่ทั้งหมด ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ นอกจากนี้ ยังอาจใช้การสวนสี barium enema โดยการสวนสารทึบรังสีเข้าในลำไส้ใหญ่แล้วx-ray ดูลำไส้ใหญ่
การแบ่งระยะของโรคตามการแพร่กระจายของโรค เป็น 5 ระยะ
ระยะ 0 คือโรคมะเร็งในระยะเริ่มต้น มะเร็งอยู่เฉพาะผิวของลำไส้
ระยะ 1 มะเร็ง อยู่เฉพาะผนังลำไส้ ยังไม่แพร่ออกนอกลำไส้
ระยะ2 มะเร็งแพร่ออกนอกลำไส้แต่ยังแพร่ไม่ถึงต่อมน้ำเหลือง
ระยะ 3 มะเร็งแพร่ไปต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียง แต่ยังไม่แพร่ไปยังอวัยวะอื่น
ระยะ 4 มะเร็งแพร่ไปอวัยวะอื่นโดยมากไปยังตับและปอด

การรักษา
จะมีการรักษาได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับสุขภาพตำแหน่ง ขนาด และระยะของโรค
โดยในระยะ 0-3 ส่วนใหญ่จะทำการผ่าตัดในกรณีที่สามารถตัดเอามะเร็งออกได้หมดโดยแพทย์จะตัดเนื้อร้ายทั้งหมดร่วมกับเนื้อดีบางส่วนออก โดยมากจะสามารถต่อลำไส้ได้แพทย์จะเปิดลำไส้ไว้ที่ผนังหน้าท้องโดยมีถุงรองรับอุจจาระ ในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปบางส่วน ก็จะมีการให้เคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่เหลืออยู่จากการผ่าตัด อาจจะใช้สีร่วมรักษาซึ่งโดยมากจะให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของเนื้อร้าย หรือให้หลังการผ่าตัดเพื่อทำลายเซลล์เนื้อร้ายที่เหลือ

การปฏิบัติตนหลังการผ่าตัด คือ
ให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่เพื่อที่จะให้การรักษาได้อย่างรวดเร็ว โดยแพทย์จะตรวจหาเลือดในอุจจาระ x-ray เจาะเลือดตรวจเป็นระยะ

โรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม
อาจเป็นโรค alopecia areata ในภาวะปกตินั้น เส้นผมปกติเมื่อเจริญเต็มที่จะมีการหลุดร่วงไปเองได้คนปกติผมร่วงไม่เกินวันละ100 เส้น หากเกินกว่านั้นถือว่าผดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆได้หลายสาเหตุ เช่น  โรคผมร่วง เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่ผิดปกติไป เกิดได้ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง สาเหตุจากพันธุกรรมจากการอักเสบเนื่องมาจากการติดเชื้อหรือบางรายอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาสระผม , การขาดสารอาหาร การขาดวิตามิน ภาวะโรคเครียด คนป่วยเป็นโรคไทรอยด์



ภาวะผมร่วงและผมบาง
1 ผมร่วงหย่อมจากเชื้อรา พบมากในเด็ก ผมร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะเป็นขุยหรือสะเก็ดบางครั้งมีผื่นแดง
การรักษา  ต้องใช้ยารับประทาน ยาทาไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมด
2 ผมร่วงหย่อมจากโรคภูมิแพ้รากผม ผู้ป่วยจะมีภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรวน มีเซลล์เม็ดเลือดขาวมารบกวนรากผมทำให้เซลล์รากผมหยุดทำงาน เส้นผมจะหายไปเป็นหย่อมๆ ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีเส้นผมจะเรียบไม่พบตอ เส้นผมหักหรือเป็นตุ่มที่ผิวหนัง ภาวะนี้จะต่างจาก 2 โรค ข้างต้น โดยทั่วไปอาจพบผมหลุดร่วงเห็นเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม ในรายที่อาการรุนแรงผมจะร่วงทั่วศีรษะ และถ้ารุนแรงที่สุดผมจะขดตามตัวจนร่วงหมด
                การรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพราะ การรักษาต้องใช้สตีรอยด์ชนิดทา หรือ กินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
                กรณีผมร่วงหย่อมชนิดที่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคฝีหนองบนศีรษะ เชื้อกลากที่ศีรษะชนิดที่มีการอักเสบรุนแรง แผลไฟไหม้น้ำร้อนรวก โรคDLE ที่หนังศีรษะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่รากผมจะถูกทำลายอย่างมาก จนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่มาทดแทนเส้นผมเดิม และเกิดพังผืนในชั้นหนังแท้ร่วมด้วย
                การรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนให้การรักษาด้วยยา
ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ ที่พบบ่อยๆ
1.    ภาวะผมร่วงระยะกลางคัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้เส้นผมบนศีรษะเปลี่ยนจากระยะเติบโต ผมจึงหลุดร่วงมากผิดปกติ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ . ไข้ไทฟอยด์ , ไข้มาลาเรีย , ไข้หวัดที่มีไข้ติดต่อกันหลายวัน ยาชนิดต่างๆเช่น ยากลุ่มอนุพันธุวิตามิน เอ นอกจากนี้ยังพบในสตรีหลังคลอดบุตรภาวะเครียดหรือตกใจอย่างรุนแรง อาการผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้น ภายในเวลา 1-2 เดือนเมื่อสาเหตุต่างๆผ่านไป
2.    ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะจากการติดเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 2 ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ทั่วศีรษะคล้ายมอดแทะ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องอาศัยการตรวจเลือด
3.    ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศ ผู้ป่วยจะเกิดอาการรากผมค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากผมเส้นใหญ่ไปเป็นเส้นผมเส็นเล็กถ้าเกิดในผู้ชายผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิง ผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ เช่นเดียวกันแต่จะไม่ล้านเตียนโล่งแบบผู้ชาย
การรักษา ภาวะผมบางชนิดนี้มีหลายวิธี แต่จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อน จึงจะจัดยาการรักษาได้
                การสระผมด้วยน้ำประปานั้นไม่มีส่วนทำให้ผมร่วงได้เพราะส่วนประกอบของคลอรีนที่มีอยู่ในน้ำประปาน้อยมาก เว้นแต่จะเป็นน้ำบาดาลที่อาจสกปรกหรือปนเปื่อนสารเคมี นอกจากนี้การสระผมบ่อยๆ อาจจะทำให้หนังศีรษะแห้งและเกิดรังแคตามมาได้ และอาจจะเกิดจากการแพ้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของแชมพูได้
             
อาหารบำรุงผม
              ได้แก่ อาหารที่มีสารไอโอดีนมากๆ ที่หาง่ายในบ้าน ได้แก่ อาหารทะเลต่างๆ เช่น ปลาทะเล กุ้ง และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือเสริมไอโอดีน อาหารที่มีธาตุซิลิคอน คือ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวแดง รองลงมาได้แก่ แตงกวา สตรอเบรอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ผักโขม
สุดท้ายคือ อาหารที่มีธาตุกำมะถัน ได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาดขาว หัวหอมใหญ่ หัวหอมแดง กะหล่ำดอก ผักกาดแดง แอปเปิ้ล
นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมแล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างง่ายๆ คือ ควรใช้หวีหรือแปรงที่ไม่แหลมคม ไม่ควรแปรงผมย้อนหลัง หรือยีผมแรงๆอย่ารัดผมหรือถักเปียจนแน่นเกินไป ควรใช้แชมพูอ่อนๆ และบำรุงผมด้วนครีมนวดผม หรือปรับสภาพเส้นผมหากต้องใช้สารเคมี

โรคกลาก

โรคกลาก
เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ทางการสัมผัสโดยตรง ลักษณะของผื่นจะเป็นผื่นแดง วงกลม มีขอบเขตชัดเจนรูปร่างคล้ายวงแหวน มีสะเก็ดลอกขุยที่ขอบวงแหวน ถ้าผื่นลุกลามขยายออกวงกว้างขึ้นจะยิ่งเห็นรูปร่างวงแหวนชัดเจนยิ่งขึ้น
อาการของโรค
ที่สำคัญผื่นดังกล่างจะมีอาการคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืนจะยิ่งคันมาก ทำให้นอนไม่ค่อยหลับ ตำแหน่งของผื่น โรคกลากที่เป็นเชื้อราเกิดขึ้นได้หลายตำแหน่งมาก ตั้งแต่ศีรษะจดปลายเท้ามีชื่อเรียกแตกต่างกัน ได้แก่ กลากของหนังศีรษะและเส้นผม กลากบนใบหน้า กลากบริเวณลำตัว แขนขา กลากของมือ กลากของฝ่าเท้า กลากบริเวณขาหนีบ เรียกว่าเห็นสังคัง กลากของแผ่นเล็บ
ส่วนการรักษาใช้ยาทา เช่น โคลทรัยมาโซล , ไมโคนาโซล , คีโตโคนาโซล , ไอโซโคนาโซล  .
ยารับประทานแพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผื่นแต่ละราย ควรใช้ในรายเป็นผื่นบริเวณกว้าง เช่น กริซิโอ ฟูลวิน , คีโตโคนาโซล . ไอตราโคนาโซล , แพทย์จะพิจารณาตามความเหมาะสมของผื่นแต่ละราย

โรคด่างขาว

โรคด่างขาว
     ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของการสร้างผิวปกติของการสร้างสีผิว จะเห็นรอยสีขาวเหมือนสีน้ำนมหรืองาช้าง ขนาดรูปร่างต่างๆกันผื่นจะขยายกว้างออกช้าๆตามระยะเวลาที่อาจทำให้เส้นผมบริเวณผื่นเป็นสีขาวได้ด้วยพบโรคนี้ในคนผิวขาวปัญหาของโรคนี้อยู่ในความไม่สวยงามโรคด่างขาวมักเกิดร่วมกับโรคอวัยวะภายในหลายโรคได้แก่ โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคเบาหวาน และโรคโลหิตจาง
สาเหตุของโรคด่างขาวไม่ทราบแน่ชัด ไม่เป็นโรคติดต่อ แต่อาจเกิดร่วมกับโรคของภูมิภูมิคุมกัน และเชื่อว่าอาจเกี่ยวข้องกับกรรมพันธ์
        โรคด่างขาวเป็นโรคที่รักษาได้ยากและใช้เวลานาน มีวิธีรักษาหลายรูปแบบขึ้นกับชนิดของด่างขาว การกระจายของโรค และอายุของผู้ป่วย การรักษาโรคด่างขาวขึ้นอยู่กับว่าเป็นรุนแรงมากหรือน้อย หากรอยโรคด่างขาวขนาดเล็ก มียาทา กลุ่ม steroids จะช่วยได้ หากรอยโรคเป็นกระจายทั่วตัวอาจต้องฉายแสงอาทิตย์เทียม ค่าใช้จ่ายฉายแสง ประมาณ 200 บาท ต่อ 1ครั้ง ต้องมาฉายสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถ้าโรคเป็นนาน และเป็นร่วมกับไทรอยด์ด้วยแล้ว อาจจะดื้อต่อการรักษาในปัจจุบันการรักษาที่มีอยู่ได้ผลประมาณ 50% เท่านั้นและขึ้นกับชนิดของผื่นด้วย ยังไม่มีรายงานการรักษาด้วยยากินสมุนไพร ต้องระวังอาจทำให้ยิ่งกำเริบ

โรคเกาต์

โรคเกาต์
 อาการของโรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบ ที่มักจะเป็นในผู้ชายที่มีอายุ 40 ปี สำหรับผู้หญิงที่เป็น
โรคเกาต์มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วโดยอาการที่เด่นชัดคือ อาการของโรคจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุ
อาการของโรค
คือ อาการบวมแดงบริเวณรอบข้อโดยไม่มีสาเหตุ และร้อนบริเวณรอบๆข้อ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเริ่มแรกมักเกิดอนกลางคือน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมากจนบางครั้งถึงกับเดินไม่ได้ และมักจะเป็นข้อเดียว โรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นที่ละข้อไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ข้อที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิว้หัวแม่เท้า ที่อื่นๆ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อของกระดูกเท้าและมือ และข้อศอก อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วจะหายไป และโรคจะรุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ







สาเหตุของโรค
โรคเกาต์ไม่ได้เกิดจากอาหารอย่างเดียวโดยที่กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีนซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ขนมปัง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเกาต์พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน แต่พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้นแต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อยจนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกายและเกิดเป็นโรคเกาต์

ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์
ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ
ผู้ที่ได้รับสารตะกั่ว โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดบางชนิด  การดื่มเหล้า หรือเครื่องดืมผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์เฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริคในร่างกายได้มาก ส่วนยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเกาต์ ได้แก่ แอสไพริน , ยาขับปัสสาวะ, ยารักษาโรคพาร์กินสัน , ยากดภูมิคุ้มกัน
การดูแลรักษาโรคเกาต์
แบ่งเป็นการรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด จากนั้นป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค และรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดกรดยูริคสูง ในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์การรับประทานอาหารพวกเครื่องในเนื้อสัตว์ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางประการโดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่น ตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ พวกเนื้อเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง ไต กะปิ ปลาซาดีน ปลาซาดีนกระป๋อง ไข่ปลา น้ำซุปสกัดจากเนื้อสัตว์ น้ำเคี่ยวเนื้อ



อาหารที่ต้องลดจำนวนลง
ได้แก่ เนื้อสัตว์ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู เบียร์ และเหล้าต่างๆ ถั่วบางชนิด เช่นถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง แอสพารากัส กระหล่ำดอก ผักขม เห็ด
ข้าวโอ๊ด
อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
ได้แก่ ข้าวต่างๆยกเว้นข้าวโอ๊ด ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำข้าวออก ผักผลไม้ น้ำนม ไข่ขนมปังเสริมวิตามิน เนย เนยเทียม


โรคดีแอลอี

โรคดีแอลอี
เป็นอาการหนึ่งของโรคเอสแอลอี ชื่อเต็มว่า discoid lupus erythematosus ที่มาเกิดที่ผิวหนัง
อาการของโรค
อ่อนเพลียจนถึงอาการรุนแรงมากหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะถึงแก่กรรมได้
อาการอาจเกิดขึ้นทีละอย่าง หรือหลายอย้างหรือเกิดขึ้นพร้อมกันหมดก็ได้ ระบบที่มีความผิดปกติที่พบบ่อย คือ ผิวหนัง ข้อ ไต 
                  อาการทั่วไป มีอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ เป็นๆหายๆ
                  อาการทางผิงหนัง มีผื่นแดงที่หน้าบริเวณโหนกแก้ม แพ้แดด ผมร่วง แผลที่ริมฝีปาก ลมพิษ จุดแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ปวดปลายนิ้วมือและเท้าเวลาถูกความเย็น
                  อาการทางระบบข้อ กล้ามเนื้อ และกระดูก  ข้อมักเริ่มด้วยอาการปวดอย่างเดียวก่อน ต่อมาจึงบวม แดง และร้อนเป็นได้กับข้อต่างๆ ทั่วตัว แล้วตามด้วยอาการข้อแข็งตอนเช้า พบข้อพิการประมาณรร้อยละ 10 สำหรับกล้ามเนื้อและกระดูก พบมีอาการปวดกล้ามเนื้ออักเสบและกระดูกเสื่อม
                 อาการทางไต พบได้บ่อย มีบวมปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง และอาการทีเกิดจากภาวไตวายซึ่งบางกรณีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเห็นสาเหตุตายได้
                  อาการทางระบบประสาท เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลายอย่างตั้งแต่ปวดศีรษะ ชัก ซึมจนถึงหมดสติ นอกจากนั้นอาจมีเลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
                  อาการทางเลือด จากภูมิต่อต้านเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด ทำให้เกิดอาการซีดติดเชื้อง่ายเพราะเม็ดเลือดขาวลดลง และเลือดออกง่ายเพราะเกร็ดเลือดลดลง
                   อาการทางหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด อาจมีอาการหอบ เหนื่อยง่าย นอนหลายไม่ได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ชีพจรเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอาจมีอาการเจ็มตื้ดที่หน้าอกด้านซ้ายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเกิดจากมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ นอกนั้นอาจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
อาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจพบอาการเหนื่อย เจ็บเสียดหน้าอก ไอ อาการทางระบบทางเดินหายใจนี้ แม้จะไม่พบแต่ก็มีความสำคัญ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้องซึ่งอาจเกิดจากมีการอักเสบของลำไส้หรือตับอ่อน นอกจากอาการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีอาการตาแห้งปากแห้ง อาการต่างๆ อาจเกิดที่ละอย่าง อย่างไหนก่อนก็ได้ หรืออาจเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้
                   การวินิจฉัย
เอสแอลอี เป็นโรคที่วินิจฉัยยาก เพราะมีอาการมากมาย และอาการต่างๆ ยังเหมือนโรคอื่นๆด้วย โดยเฉพาะในระยะแรกของโรค การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ซึ่งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง จึงจะทราบผล
                   การรักษา
ยาที่ใช้รักษามีหลายอย่างการเลือกใช้ยาทั้งชนิดและขนาดขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปแพทย์จะเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ในขณะที่โรคกำลังรุนแรงต้องใช้ยาขนาดสูงและอาจต้องใช้ยาหลายชนิด บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ แต่ก็ยังคงต้องให้ยาเพราะมิฉะนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากโรคได้ โรคนี้ถ้ารักษาเต็มที่จนโรคสงบสามารถลดยาและขนาดยาลงได้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติและคุณภาพชีวิตที่ดี
                  การปฏิบัติตนของผู้ป่วย
มีความสำคัญมากต่อผลการรักษาผู้ป่วยควรต้องหลีกเลียงไม่ให้ถูกแดด เพราะจะทำให้โรคกำเริบและต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรขาดยาหรือหยุดยาเองเป็นอันขาด ไม่ควรซื้อยากินเองเพราะจะเกิดอันตรายได้ ควรติดต่อรักษาตามแพทย์นัด สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์หากต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือสภาพจิตใจของผู้ป่วย จิตใจที่สงบจะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลง
                
                    ข้อควรทราบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคนี้มีบุตรได้หรือไม่ ถ้าได้ เมื่อไรจึงจึงจะตั้งครรภ์ได้ และระหว่างตั้งครรภ์ต้องปฏิบัติอย่างไรปัจจุบันการรักษาโรคนี้ได้ผลดีขึ้น อัตราการตายลดลงแม้จะมีโรคที่ไตด้วย เมื่อโรคสงบลงผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ แต่ควรรอจนโรคสงบต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหลายๆเดือนหรือ 1-2 ปี และควรทราบว่ายังอาจเกิดอันตรายต่อทั้งแม่และทารกได้ ดังนั้นผู้ป่วยและญาติ โดยเฉพาะสามีควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ ระหว่างตั้งครรภ์ต้องตรวจบ่อยๆอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนหลัง จะต้องใด้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นช่วงที่โรคมักกำเริบ ถ้าพบว่าโรคกำเริบหรือมีความดันโลหิตสูง หรือไตทำงานลดลง อาจต้องพิจารณาทำแท้ง
อาหารเสริมที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างและเสริมน้ำหล่อเลี้ยงข้อและกระดูกอ่อนพวก glucosamine sulfate และ chondroitin sulfate นั้น ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ แต่เป็นปริมาณที่น้อยกว่าความตต้องการของร่างกาย


โรคปวดข้อ มีหลายสาเหตุ

โรคปวดข้อ มีหลายสาเหตุ ดังนี้
1.    โรคข้อรูมาตอยด์ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในของข้อ ทำให้เกิดการบวมแดงปวด การอักเสบเรื้อรังทำให้ปวดข้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อได้ลดลง
2.    โรคข้อเสื่อมตามอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ปกป้อง และครอบคลุมผิวของกระดูกข้อ ไม่ให้กระดูก 2ชิ้นสบกันทำให้เกิดความปวด และขยับได้น้อยลงเมื่อกระดูกถูบนกระดูก
    3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
            เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารขึ้นมาปล้วเกิดต่อต้านตัวมันเองคล้ายลักษณะกับโรคลูปาหรือเอสแอลอี แต่แตกต่างกันตรงที่โรครูมาตอยด์สารดังกล่าว  ไปต่อต่านอวัยวะที่สำคัญที่สุดก็คือข้อต่อต่างๆ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กินเข้าไปในเนื้อกระดูก ทำให้ข้อหงิกงอผิดรูป โรคนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคนและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุเป็นโรคภูมิแพ้เนื้อเยื้อตัวเอง ผู้ป่วยมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ การติดเชื้อโรคไวรัสบางชนิด หรือปัจจัยจากสภาพแวดล้อม พบว่าการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้ออักเสบ รูมาตอยดื ส่วนการดื่มชากาแฟ ไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการของโรค
๑.มีอาการปวดตามข้อ และมีการอักเสบร่วมด้วย คือ ปวดตามข้อมีการบวมของข้อหรือแดงร้อนได้
๒. อาการข้อขัดในเวลาเช้าเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการอักเสบ เช่น กำข้อมือ  หรือเหยียดมือไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที
๓. บางรายอาจกำมือหนือเหยียดมือไม่ได้จนถึงช่วงบ่ายอาจปวดแค่ 2-3 ข้อ แต่ข้อที่มักจะเป็นมากที่สุดจะเป็นในมือและเท้า ข้อต่อนิ้วมือและข้อกลางนิ้วมือ มักเป็นทั้งสองข้าง ส่วนที่เท้ามักเป็นที่ข้อเท้าและข้อของนิ้วเท้า
ความรุนแรงของโรค
๑.     มือบวมไปหมดทั้งมือ
๒.    รุนแรงมากคือ กระดูกถูกทำลายไปแล้วถึงขั้นหงิกงอ
๓.    การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำเป็นต้องได้รับการตรวจหาสารรูมาตอยด์ในเลือด
     ๔. อาการทางระบบอื่นที่สามารถพบเห็น    เช่น  ตา , ปราสาท , กล้ามเนื้อ , อาจมีไข้และเบื่ออาหารและน้ำหนักลดรวมด้วย
 ในผู้สูงอายุถ้ามีอาการปวดข้อ ควรต้องพบแพทย์ว่าเป็นโรค รูมาตอยด์หหรือข้อเสื่อมแต่ถ้าบางรายที่พบว่ามีอาการบวมอย่างชัดเจนควรต้องมาพบแพทย์ การตรวจทางรังสี ในระยะแรกจะไม่เฉพาะเจาะจง ถ้าเป็นมานานเกินหนึ่งปี จะพบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น พบบ่อยในตำแหน่งของข้อมือ ข้อนิ้วเท้า หรือเท้า ก่อนที่จะเกิดกับข้อใหญ่จะเป็นประโยชน์ในการพยาการณ์ความรุนแรงของโรคและติดตามการรักษาต่อไป
แนวทางการรักษาโรครูมาตอยด์
คือ ระงับอาการเจ้บปวด ลดการอักเสบ ลดการทำลายของข้อและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี ยาเหล่านี้ได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้ลดความเจ็บปวดและลดการอักเสบ แต่ไม่สามารถยับยั้งการทำลายข้อได้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาแตกต่างกันออกไป ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงทางด้านระบบทางเดินอาหารและระบบไตได้
1. ในรายที่เป็นรุนแรง มีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายา ระดับ 2 ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทอง ยาเมทโธเทรกเซท ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับการเจ็บปวดแต่จะช่วยระงับการลุกลามของโรคได้ แต่เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงควรใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงและใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ยาระดับ 2 นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยาปรับเปลียนการดำเนินของโรค -
- ( DMARDs )
2. ยาคอร์โคสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีผู้นำเอามาใช้ในการรักษา โรครูมาตอยด์เป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากยานี้มีคุณสมบัติในการระงับการอักเสบของข้อได้ แต่จากการศึกษาในระยะหลังๆ พบว่ายาชนิดนี้ไม่ได้ไปเปลียนแปลงการดำเนินของโรคเลย แต่เมื่อใช้ยานี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยจะติดยาและไม่สามารถเลิกยาชนิดนี้ได้ พร้อมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาชนิดนี้มากมาย เช่น อ้วน เบาหวาน ความดนโลหิตสูง ตาเป็นต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกผุ เป็นต้น จึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งในการนำยานี้ไปใช้รักษาผู้ป่วย ยกเว้น ในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว และควรดูแลควบคุมด้วยมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
3. ยาชีวภาพ ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการทางระบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบในดรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ enbrel, remicade, humira,kineret, ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงและออกฤทธิ์โดยตรงกว่ายากลุ่ม DMARDs แต่มีราคาสูงมากปัจจุบันทีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ตอบสนองไม่ดีต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม DMARDs
การรักษาโดยการผ่าตัดจะพิจารณาในการรักษาโรครูมาตอยด์ ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน
โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ หรือคนในวัยทองด้วยแล้ว ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง โดยสาเหตุหลักอันหนึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง ดังนั้น การแนะนำให้ทานแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุจึงนับว่าเป้นทางออกที่ดีทางหนึ่งได้ แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถละเลยในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอย่างหนักมตลอดชีวิตนั้นคือภาวะข้อเสื่อม ซึ่งเป็นภาวะที่ข้อต่อโดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท้าซึ่งต้องรองรับน้ำหนักมากที่สุดเสื่อมสภาพไป ทำให้เยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อ่ลอดน้อยลง เกิดการเสียดสีจองกระดูกในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
ข้อปฏิบัติที่ช่วยยืดอายุของข้อต่อและระบบโครงสร้างของร่างกายของเรา
๑.                          หมั่นออกกำลังกายในลักษณะการยืดเส้นยืดสาย พร้อมการฝึกสมาธิ หรือ ลมปราณควบคู่กันไป เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การรำมวยจีน การฝึกดยคะ ฯลฯ เพื่อเป็นการบริหารข้อต่อให้ใช้งานที่ไม่หนักแต่ใช้สม่ำเสมอ เพื่อให้มีเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อตลอดไปและป้องกันไม่ให้ข้อยึดติดกัน
๒.                        ฝึกท่าทางการนั่ง การยืน การเดิน ให้ถูกสุขลักษณะที่ดี คือไม่ให้ข้อส่วนหนึ่งแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การยืนตรงการนั้งหลังตรงไม่นั้งหลังงอ การยกของหนักด้วยท่าที่ถูกต้อง ห้ามใช้หลังรับน้ำหนักในการยกเป็นอันขาดการใช้ที่นอนที่นุ่มจนเกินไปอาจทำให้กระดูกสันหลังงอ และรับน้ำหนัก่มากไปจนเกิดอาการปวดหลังและกลายเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้
๓.                         ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้ร่างกายรับโภชนาเกินจนอ้วนได้ จะเป็นภาระกับกระดูกหัวเข่าทั้ง สองข้างที่ต้องแบกรับน้ำหนักร่างกาย
๔.                         งด หรือ ลดการบริดภคแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพของกระดูกและข้อต่อในระยะยาว หรือแม้กระทั้งการใช้ยาบางประเภท เช่นSteroids ซึ่งมีผลให้ข้อเสื่อม และกระดูกผุได้ หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
๕.                         รับประทานอาหารที่มีส่วนในการเสริมสร้าง และซ่อมแซม กระดูกอ่อนที่ข้อต่อคือ Glucosa mine Sulfate และ Chondroitin sulfate ร่วมกัน เพื่อร่างกายนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน คอลลาเจน สำหรับกระดูกอ่อนและเอ็น รวมถึงกระตุ่นการสร้างเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อ