วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคผมร่วงเป็นหย่อม

โรคผมร่วงเป็นหย่อม
อาจเป็นโรค alopecia areata ในภาวะปกตินั้น เส้นผมปกติเมื่อเจริญเต็มที่จะมีการหลุดร่วงไปเองได้คนปกติผมร่วงไม่เกินวันละ100 เส้น หากเกินกว่านั้นถือว่าผดปกติซึ่งอาจจะเกิดจากสาเหตุต่างๆได้หลายสาเหตุ เช่น  โรคผมร่วง เกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่ผิดปกติไป เกิดได้ ทั้งในเพศชายและเพศหญิง สาเหตุจากพันธุกรรมจากการอักเสบเนื่องมาจากการติดเชื้อหรือบางรายอาจเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ยาสระผม , การขาดสารอาหาร การขาดวิตามิน ภาวะโรคเครียด คนป่วยเป็นโรคไทรอยด์



ภาวะผมร่วงและผมบาง
1 ผมร่วงหย่อมจากเชื้อรา พบมากในเด็ก ผมร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังในบริเวณที่ผมร่วงจะเป็นขุยหรือสะเก็ดบางครั้งมีผื่นแดง
การรักษา  ต้องใช้ยารับประทาน ยาทาไม่สามารถกำจัดเชื้อราได้หมด
2 ผมร่วงหย่อมจากโรคภูมิแพ้รากผม ผู้ป่วยจะมีภาวะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายรวน มีเซลล์เม็ดเลือดขาวมารบกวนรากผมทำให้เซลล์รากผมหยุดทำงาน เส้นผมจะหายไปเป็นหย่อมๆ ผิวหนังบริเวณที่ไม่มีเส้นผมจะเรียบไม่พบตอ เส้นผมหักหรือเป็นตุ่มที่ผิวหนัง ภาวะนี้จะต่างจาก 2 โรค ข้างต้น โดยทั่วไปอาจพบผมหลุดร่วงเห็นเป็นหย่อมเดียวหรือหลายหย่อม ในรายที่อาการรุนแรงผมจะร่วงทั่วศีรษะ และถ้ารุนแรงที่สุดผมจะขดตามตัวจนร่วงหมด
                การรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพราะ การรักษาต้องใช้สตีรอยด์ชนิดทา หรือ กินยาติดต่อกันเป็นเวลานาน
                กรณีผมร่วงหย่อมชนิดที่มีแผลเป็นบนหนังศีรษะ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคฝีหนองบนศีรษะ เชื้อกลากที่ศีรษะชนิดที่มีการอักเสบรุนแรง แผลไฟไหม้น้ำร้อนรวก โรคDLE ที่หนังศีรษะ ผู้ป่วยส่วนใหญ่รากผมจะถูกทำลายอย่างมาก จนไม่สามารถสร้างเส้นผมใหม่มาทดแทนเส้นผมเดิม และเกิดพังผืนในชั้นหนังแท้ร่วมด้วย
                การรักษา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อนให้การรักษาด้วยยา
ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะ ที่พบบ่อยๆ
1.    ภาวะผมร่วงระยะกลางคัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้เส้นผมบนศีรษะเปลี่ยนจากระยะเติบโต ผมจึงหลุดร่วงมากผิดปกติ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น โรคติดเชื้อชนิดต่างๆ . ไข้ไทฟอยด์ , ไข้มาลาเรีย , ไข้หวัดที่มีไข้ติดต่อกันหลายวัน ยาชนิดต่างๆเช่น ยากลุ่มอนุพันธุวิตามิน เอ นอกจากนี้ยังพบในสตรีหลังคลอดบุตรภาวะเครียดหรือตกใจอย่างรุนแรง อาการผมร่วงจะค่อยๆ ดีขึ้น ภายในเวลา 1-2 เดือนเมื่อสาเหตุต่างๆผ่านไป
2.    ภาวะผมร่วงทั่วศีรษะจากการติดเชื้อซิฟิลิสระยะที่ 2 ผมร่วงเป็นหย่อมๆ ทั่วศีรษะคล้ายมอดแทะ การวินิจฉัยที่แน่นอนต้องอาศัยการตรวจเลือด
3.    ภาวะผมบางจากพันธุกรรมและฮอร์โมนเพศ ผู้ป่วยจะเกิดอาการรากผมค่อยๆเปลี่ยนแปลงจากผมเส้นใหญ่ไปเป็นเส้นผมเส็นเล็กถ้าเกิดในผู้ชายผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ ส่วนผู้หญิง ผมจะบางลงมากในบริเวณกลางศีรษะ เช่นเดียวกันแต่จะไม่ล้านเตียนโล่งแบบผู้ชาย
การรักษา ภาวะผมบางชนิดนี้มีหลายวิธี แต่จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องก่อน จึงจะจัดยาการรักษาได้
                การสระผมด้วยน้ำประปานั้นไม่มีส่วนทำให้ผมร่วงได้เพราะส่วนประกอบของคลอรีนที่มีอยู่ในน้ำประปาน้อยมาก เว้นแต่จะเป็นน้ำบาดาลที่อาจสกปรกหรือปนเปื่อนสารเคมี นอกจากนี้การสระผมบ่อยๆ อาจจะทำให้หนังศีรษะแห้งและเกิดรังแคตามมาได้ และอาจจะเกิดจากการแพ้สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของแชมพูได้
             
อาหารบำรุงผม
              ได้แก่ อาหารที่มีสารไอโอดีนมากๆ ที่หาง่ายในบ้าน ได้แก่ อาหารทะเลต่างๆ เช่น ปลาทะเล กุ้ง และอาหารที่ปรุงด้วยเกลือเสริมไอโอดีน อาหารที่มีธาตุซิลิคอน คือ ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวแดง รองลงมาได้แก่ แตงกวา สตรอเบรอรี่ หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักกาดหอม ผักโขม
สุดท้ายคือ อาหารที่มีธาตุกำมะถัน ได้แก่ กะหล่ำปลี หัวผักกาดขาว หัวหอมใหญ่ หัวหอมแดง กะหล่ำดอก ผักกาดแดง แอปเปิ้ล
นอกจากการรับประทานอาหารที่เหมาะสมแล้ว ควรปฏิบัติตนอย่างง่ายๆ คือ ควรใช้หวีหรือแปรงที่ไม่แหลมคม ไม่ควรแปรงผมย้อนหลัง หรือยีผมแรงๆอย่ารัดผมหรือถักเปียจนแน่นเกินไป ควรใช้แชมพูอ่อนๆ และบำรุงผมด้วนครีมนวดผม หรือปรับสภาพเส้นผมหากต้องใช้สารเคมี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น