วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาเหตุของอาการปวดหลัง


สาเหตุของอาการปวดหลัง
1 ปวดที่บริเวณหลังไม่มีจุดใดจุดหนึ่งจะเป็นการปวดจากโรคจากอวัยวะอื่นๆที่นอกเหนือจากกระดูกสันหลัง
2 เจ็บปวดที่กระดูกสันหลังโดยจะปวดเฉพาะกระดูกสันหลังเท่านั้นเองไม่ปวดร้าวไปที่ใดที่หนึ่งและไม่มีผลต่อระบบประสาท คือ ไขสันหลังยังไม่ถูกกระทบกระเทือน
3 ปวดหลังซึ่งเกิดร่วมกับการมีอาการปวดเสียวตามประสาท โดยเฉพาะการปวดเสียวมาที่ขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือว่าเสียวสองข้างอาจทำให้มีอาการชาขาไม่มีแรงการปวดแบบนี้จะรุนแรงและมีการคดหรือเบียดกับเส้นประสาท




อาการปวดหลังและเสียวไปที่ตนขา
        เป็นภาวะกระดูกกดทับเส้นประสาทจำเป็นต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางกระดูก และx-ray ดูกระดูกสันหลัง อีกทั้งการตรวจเลือดดูภาวะของไต และตรวจปัสสาวะ


 กระดูกสันหลังเสื่อมหรือหมอนรองกระดูก
            หมอนรองกระดูกในหลังมีความยืดหยุ่นทำหน้าทีเหมือนโช้คอัพกระดูกสันหลังระดับบั้นเอวและระดับคอการใช้งานมากกว่าระดับอื่นจึเสื่อมง่ายกว่า
           หมอนรองกระดูกบางส่วนอาจจะที่การเคลื่อนทีไปกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตามแขนขาที่เส้นประสาทนั้นๆไปเลี้ยงก็ได้
           ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเสื่อม แต่ไม่ไปกดเส้นประสาท จะทีผลทำให้ข้อกระดูก สันหลังที่อยู่ด้านหลังมีการเปลี่ยนแปลง โดยมีการอักเสบหรือขรุขระหรืออาจมีกระดูกงอก ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวดขึ้นบริเวณหลังและปวดร้าวลงมาบริเวณกระเบนเหน็บ หรือสะโพกทั้ง 2 ข้างได้ คนอ้วน คนที่ใช้หลังไม่ถูกต้อง เช่น ก้มๆ เงยๆ ยกของหนัก มีโอกาสข้อกระดูกสันหลังเสื่อมได้เร็วกว่าคนอื่น
อาการปวดหลังจากโรคไต
            มักจะทีอาการอื่นๆ เช่น ปวดท้อง ปวดหลัง ปัสสาวะขัด ปัสสาวะเป็นเลือด บางครั้งอาจนะมีลักษณะของปัสสาวะที่มีก้อนนิ่วหลุดออกมาด้วยเหมือนเศษทรายเล็กๆ แต่บางคนอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนจากนิ่วได้ เช่น กรวยไตอักเสบจากการติดเชื้อ ท่อไต หรือท่อปัสสาวะอุดตันจากนิ้ว อุดตันนานๆ เข้าจะทำให้เกิดไตวายได้

โรคนิ่วของทางเดินปัสสาวะ
             เกิดจากก้อนหินปูนอยู่ภายในไตหรือในกระเพาะปัสสาวะไหลลงมา อาจติดอยู่ที่ท่อไต นิ่วที่ท่อไต หรือถ้าก้อนเล็กก็ลงมาเรื่อยๆ จนออกมากับปัสสาวะ โรคนิ่วพบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และพบมากในช่วงอายุ 30-40 ปี ในประเทศไทย พบมากทางภาคเหนือและภาคอีสาน
             ก้อนนิ่วที่เกิดขึ้นในไตเป็นหินปูนหรือแคลเซียม กับสารเคมีอื่นๆ เช่น ออกซาเลต กรดยูริก เป็นต้น การเกิดนิ่วจึงมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะที่มีแคลเซียมในปัสสาวะมากผิดปกติ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการกินอาหารที่แคลเซียมสูง การดื่มนมมากๆหรือมีภาวะผิดปกติอื่นๆ เช่น ต่อมพาราไทรอยด์   ทำงานมากเกินไป  ซึ่งทำให้แคลเซียนในเลือดสูง นอกจากนี้ ยังพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเกาต์

นิ่วที่สามารถวินิจฉัยได้จากการตรวจปัสสาวะ
           จะตรวจพบว่ามีเม็ดเลือด เอกซเรย์ อัลตราซาวนด์ เอกซเรย์ไตด้วยการฉีดสีเมื่อมีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคของทางเดินปัสสาวะ แพทย์จำเป็นต้องตรวจป้สสาวะของผู้ป่วยเพื่อให้มีการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การตรวจปัสสาวะป็นการตรวจขั้นต้นที่สำคัญในการที่จะวินิจฉัย โรคต่างๆ ของทางเดินปัสสาวะ เช่นโรคนิ่ว โรคติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะกรวยไตอักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ และโรคอื่นๆ

การรักษา
             คือ การรักษาให้หายจากอาการเจ็บปวดโดยรับประทานยาแก้ปวด หรือหากมีอาการมากอาจจะต้องฉีดยาแก้ปวดให้ ขั้นต่อไป คือ เอาตัวนิ่วนั้นออก หากนิ่วนั้นมีขนาดเล็กก็อาจหลุดออกมาได้โดยไห้ดื่มน้ำมากๆ และปัสสาวะเยอะๆ ถ้านิ่วมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะหลุด จาดท่อปัสสาวะมาได้ ก็อาจจะมีอาการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ อาจจำเป็นต้องผ่าตัดเอาออก การผ่าตัดอาจใช้วิธีผ่าตัดผ่านทางหน้าท้อง หรือผิวหนังที่บริเวณไต การส่องกล่องคีบเอาก้อนนิ่วออกมาทางท่อทางเดินปัสสาวะก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการรักษาที่เรียกว่าการสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ทำให้เสียงนั้นสั่นสะเทือนเข้าไปในท้องไปสลายให้นิ่วนั้นแตกออกมาเป็นชิ้นเล็กๆแล้วดื่มน้ำมากๆ นิ้วนั้นก็จะหลุดออกมาจากปัสสาวะถ้ามีอาการติดเชื้อ พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ เช่น อะม็อกซีซิลลิน , โคไตรม็อกซาโซล หรือนอกร์ฟล็อกซาซิน เช่นเดียวกับการรักษากรวยไตอักเสบเฉียบพลันส่วนการสลายนิ่วโดยใช้เครื่องสลายนิ่วแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ เครื่องที่สอดใส่เครื่องมือผ่านผิวหนังเข้าไปในร่างกายเพื่อเข้าไปสลายนิ่วและเครื่องที่ปล่อยพลังงานของแรงกระแทกจากภายนอกร่างกายเข้าไปเพื่อทำให้นิ่วแตก
โรคเบาหวาน
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานคือ มีญาติสายตรง ( พ่อ แม่ พี่ น้อง ) ป่วยเป็นโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรรับประทานอาหารที่มีปริมาณที่เหมาะสม ตรงตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้รับสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และพลังงานที่สมดุลกับการใช้แรงงานและยาที่แพทย์กำหนดให้ ซึ่งมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดรวมถึงน้ำหนักตัว ความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดที่มักพบว่ามีความผิดปกติร่วมกันกับความผิดปกติของระดับน้ำตาลในเลือดด้วย ผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกคนจึงควรสนใจ และพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกรับประทานอาหาร
ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ให้เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย ผู้ป่วยสามารถเปลี่ยนอาหารได้หลากหลายเพื่อหลีกเลี่ยงความซ้ำซากจำเจ  เช่น
2.    อาหารหมุ่ข้าว แป้ง พบว่ารับประทานข้าวต้ม 2 ทัพพีจะให้พลังงานเท่ากับข้าวสวย 1 ทัพพี หรือข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ
3.    อาหารหมู่ผัก พบว่าการรับประทานผักสด 1 ถ้วยตวง จะให้พังงานเท่ากับผักสุกครึ่งถ้วยตวง
4.    อาหารหมู่ผลไม้ พบว่าการรับประทานกล้วยน้ำว้า 1 ผลจะให้ผลังงานเทียบเท่ากับเงาะ 6 ผล , ชมพู่ 4 ผล ทุเรียน 1 เม็ดกลาง มะม่วงครึ่งผล เป็นต้น
5.    อาหารหมู่เนื้อสัตว์ ไข่ และนม พบว่าการรับประทานเนื้อหมู 2 ช้อนโต๊ะ จะให้พลังงานเท่ากับเนื้อไก่ 2 ช้อนโต๊ะ ไข่ 1 ฟอง ลูกชิ้น 5-6 ลูก
6.    หมวดไขมัน พบว่ามีการรับประทานน้ำมันหมู 1 ช้อนชา จะให้พลังงานเท่ากับเนยสด 1 ช้อนชา มายองเนส 1 ช้อนชา น้ำสลัด 1 ช้อนโต๊ะ
7.    ควรเลือกอาหารที่มีใยอาหารสูง
8.    ควรหลีกเลี่ยงผลไม้เชื่อม ผลไม้กวน ผลไม้ดอง ผลไม้บรรจุกระป๋อง ผลไม้สดที่มีเครื่องจิ้ม
9.    ควรหลีกเลี่ยงนมที่มีการปรุงแต่งรสทุกชนิด และเครื่องดื่มประเภทโอวัลติน ไมโล และโกโก้ ที่มีส่วนผสมของน้ำตาล
10.           ควรหลีกเลียงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น