วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคดีแอลอี

โรคดีแอลอี
เป็นอาการหนึ่งของโรคเอสแอลอี ชื่อเต็มว่า discoid lupus erythematosus ที่มาเกิดที่ผิวหนัง
อาการของโรค
อ่อนเพลียจนถึงอาการรุนแรงมากหากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะถึงแก่กรรมได้
อาการอาจเกิดขึ้นทีละอย่าง หรือหลายอย้างหรือเกิดขึ้นพร้อมกันหมดก็ได้ ระบบที่มีความผิดปกติที่พบบ่อย คือ ผิวหนัง ข้อ ไต 
                  อาการทั่วไป มีอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง ครั่นเนื้อครั่นตัว มีไข้ เป็นๆหายๆ
                  อาการทางผิงหนัง มีผื่นแดงที่หน้าบริเวณโหนกแก้ม แพ้แดด ผมร่วง แผลที่ริมฝีปาก ลมพิษ จุดแดงตามผิวหนังโดยเฉพาะที่ปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ปวดปลายนิ้วมือและเท้าเวลาถูกความเย็น
                  อาการทางระบบข้อ กล้ามเนื้อ และกระดูก  ข้อมักเริ่มด้วยอาการปวดอย่างเดียวก่อน ต่อมาจึงบวม แดง และร้อนเป็นได้กับข้อต่างๆ ทั่วตัว แล้วตามด้วยอาการข้อแข็งตอนเช้า พบข้อพิการประมาณรร้อยละ 10 สำหรับกล้ามเนื้อและกระดูก พบมีอาการปวดกล้ามเนื้ออักเสบและกระดูกเสื่อม
                 อาการทางไต พบได้บ่อย มีบวมปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะน้อยลง และอาการทีเกิดจากภาวไตวายซึ่งบางกรณีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนเห็นสาเหตุตายได้
                  อาการทางระบบประสาท เป็นที่ทราบกันดีว่าผู้ป่วยโรคนี้ มักมีอาการทางระบบประสาท ซึ่งมีได้หลายอย่างตั้งแต่ปวดศีรษะ ชัก ซึมจนถึงหมดสติ นอกจากนั้นอาจมีเลือดออกในสมอง อัมพฤกษ์ และอัมพาต
                  อาการทางเลือด จากภูมิต่อต้านเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้มีการทำลายเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกร็ดเลือด ทำให้เกิดอาการซีดติดเชื้อง่ายเพราะเม็ดเลือดขาวลดลง และเลือดออกง่ายเพราะเกร็ดเลือดลดลง
                   อาการทางหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด อาจมีอาการหอบ เหนื่อยง่าย นอนหลายไม่ได้จากภาวะหัวใจล้มเหลว ชีพจรเต้นผิดจังหวะจากกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอาจมีอาการเจ็มตื้ดที่หน้าอกด้านซ้ายจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดซึ่งเกิดจากมีพยาธิสภาพที่หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจ นอกนั้นอาจพบว่ามีความดันโลหิตสูง
อาการทางระบบทางเดินหายใจ อาจพบอาการเหนื่อย เจ็บเสียดหน้าอก ไอ อาการทางระบบทางเดินหายใจนี้ แม้จะไม่พบแต่ก็มีความสำคัญ ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นสาเหตุตายได้
อาการทางระบบทางเดินอาหาร มีอาการปวดท้องซึ่งอาจเกิดจากมีการอักเสบของลำไส้หรือตับอ่อน นอกจากอาการต่างๆ ดังกล่าวแล้ว ยังอาจมีอาการตาแห้งปากแห้ง อาการต่างๆ อาจเกิดที่ละอย่าง อย่างไหนก่อนก็ได้ หรืออาจเกิดพร้อมกันหลายอย่างก็ได้
                   การวินิจฉัย
เอสแอลอี เป็นโรคที่วินิจฉัยยาก เพราะมีอาการมากมาย และอาการต่างๆ ยังเหมือนโรคอื่นๆด้วย โดยเฉพาะในระยะแรกของโรค การวินิจฉัยต้องอาศัยประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจเลือด ซึ่งอาจต้องทำซ้ำหลายครั้ง จึงจะทราบผล
                   การรักษา
ยาที่ใช้รักษามีหลายอย่างการเลือกใช้ยาทั้งชนิดและขนาดขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปแพทย์จะเลือกใช้ยาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคน ในขณะที่โรคกำลังรุนแรงต้องใช้ยาขนาดสูงและอาจต้องใช้ยาหลายชนิด บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ แต่ก็ยังคงต้องให้ยาเพราะมิฉะนั้นผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากโรคได้ โรคนี้ถ้ารักษาเต็มที่จนโรคสงบสามารถลดยาและขนาดยาลงได้ผู้ป่วยสามารถทำงานได้ตามปกติและคุณภาพชีวิตที่ดี
                  การปฏิบัติตนของผู้ป่วย
มีความสำคัญมากต่อผลการรักษาผู้ป่วยควรต้องหลีกเลียงไม่ให้ถูกแดด เพราะจะทำให้โรคกำเริบและต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ไม่ควรขาดยาหรือหยุดยาเองเป็นอันขาด ไม่ควรซื้อยากินเองเพราะจะเกิดอันตรายได้ ควรติดต่อรักษาตามแพทย์นัด สำหรับหญิงวัยเจริญพันธุ์หากต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อน นอกจากนั้นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือสภาพจิตใจของผู้ป่วย จิตใจที่สงบจะช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลง
                
                    ข้อควรทราบเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ผู้ป่วยโรคนี้มีบุตรได้หรือไม่ ถ้าได้ เมื่อไรจึงจึงจะตั้งครรภ์ได้ และระหว่างตั้งครรภ์ต้องปฏิบัติอย่างไรปัจจุบันการรักษาโรคนี้ได้ผลดีขึ้น อัตราการตายลดลงแม้จะมีโรคที่ไตด้วย เมื่อโรคสงบลงผู้ป่วยสามารถตั้งครรภ์และมีบุตรได้ แต่ควรรอจนโรคสงบต่อเนื่องกันเป็นเวลานานหลายๆเดือนหรือ 1-2 ปี และควรทราบว่ายังอาจเกิดอันตรายต่อทั้งแม่และทารกได้ ดังนั้นผู้ป่วยและญาติ โดยเฉพาะสามีควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัดสินใจว่าจะมีบุตรหรือไม่ ระหว่างตั้งครรภ์ต้องตรวจบ่อยๆอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนหลัง จะต้องใด้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะเป็นช่วงที่โรคมักกำเริบ ถ้าพบว่าโรคกำเริบหรือมีความดันโลหิตสูง หรือไตทำงานลดลง อาจต้องพิจารณาทำแท้ง
อาหารเสริมที่ร่างกายนำไปใช้ในการสร้างและเสริมน้ำหล่อเลี้ยงข้อและกระดูกอ่อนพวก glucosamine sulfate และ chondroitin sulfate นั้น ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองตามธรรมชาติ แต่เป็นปริมาณที่น้อยกว่าความตต้องการของร่างกาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น