วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคปวดข้อ มีหลายสาเหตุ

โรคปวดข้อ มีหลายสาเหตุ ดังนี้
1.    โรคข้อรูมาตอยด์ เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุภายในของข้อ ทำให้เกิดการบวมแดงปวด การอักเสบเรื้อรังทำให้ปวดข้อ และขยับเคลื่อนไหวข้อได้ลดลง
2.    โรคข้อเสื่อมตามอายุ เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ปกป้อง และครอบคลุมผิวของกระดูกข้อ ไม่ให้กระดูก 2ชิ้นสบกันทำให้เกิดความปวด และขยับได้น้อยลงเมื่อกระดูกถูบนกระดูก
    3. โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
            เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างสารขึ้นมาปล้วเกิดต่อต้านตัวมันเองคล้ายลักษณะกับโรคลูปาหรือเอสแอลอี แต่แตกต่างกันตรงที่โรครูมาตอยด์สารดังกล่าว  ไปต่อต่านอวัยวะที่สำคัญที่สุดก็คือข้อต่อต่างๆ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์กินเข้าไปในเนื้อกระดูก ทำให้ข้อหงิกงอผิดรูป โรคนี้พบได้บ่อยในผู้ป่วยวัยกลางคนและพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย สาเหตุเป็นโรคภูมิแพ้เนื้อเยื้อตัวเอง ผู้ป่วยมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติส่วนหนึ่งเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรม หรือ การติดเชื้อโรคไวรัสบางชนิด หรือปัจจัยจากสภาพแวดล้อม พบว่าการสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคข้ออักเสบ รูมาตอยดื ส่วนการดื่มชากาแฟ ไม่เพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
อาการของโรค
๑.มีอาการปวดตามข้อ และมีการอักเสบร่วมด้วย คือ ปวดตามข้อมีการบวมของข้อหรือแดงร้อนได้
๒. อาการข้อขัดในเวลาเช้าเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการอักเสบ เช่น กำข้อมือ  หรือเหยียดมือไม่ค่อยได้ ส่วนใหญ่อาจเป็นนานประมาณ 30 นาที
๓. บางรายอาจกำมือหนือเหยียดมือไม่ได้จนถึงช่วงบ่ายอาจปวดแค่ 2-3 ข้อ แต่ข้อที่มักจะเป็นมากที่สุดจะเป็นในมือและเท้า ข้อต่อนิ้วมือและข้อกลางนิ้วมือ มักเป็นทั้งสองข้าง ส่วนที่เท้ามักเป็นที่ข้อเท้าและข้อของนิ้วเท้า
ความรุนแรงของโรค
๑.     มือบวมไปหมดทั้งมือ
๒.    รุนแรงมากคือ กระดูกถูกทำลายไปแล้วถึงขั้นหงิกงอ
๓.    การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำเป็นต้องได้รับการตรวจหาสารรูมาตอยด์ในเลือด
     ๔. อาการทางระบบอื่นที่สามารถพบเห็น    เช่น  ตา , ปราสาท , กล้ามเนื้อ , อาจมีไข้และเบื่ออาหารและน้ำหนักลดรวมด้วย
 ในผู้สูงอายุถ้ามีอาการปวดข้อ ควรต้องพบแพทย์ว่าเป็นโรค รูมาตอยด์หหรือข้อเสื่อมแต่ถ้าบางรายที่พบว่ามีอาการบวมอย่างชัดเจนควรต้องมาพบแพทย์ การตรวจทางรังสี ในระยะแรกจะไม่เฉพาะเจาะจง ถ้าเป็นมานานเกินหนึ่งปี จะพบการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น พบบ่อยในตำแหน่งของข้อมือ ข้อนิ้วเท้า หรือเท้า ก่อนที่จะเกิดกับข้อใหญ่จะเป็นประโยชน์ในการพยาการณ์ความรุนแรงของโรคและติดตามการรักษาต่อไป
แนวทางการรักษาโรครูมาตอยด์
คือ ระงับอาการเจ้บปวด ลดการอักเสบ ลดการทำลายของข้อและช่วยให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นในปัจจุบันมียามากมายที่ใช้ในการควบคุมและรักษาโรครูมาตอยด์ให้ได้ผลดี ยาเหล่านี้ได้แก่ยาแอสไพรินและยาต้านการอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้ลดความเจ็บปวดและลดการอักเสบ แต่ไม่สามารถยับยั้งการทำลายข้อได้ ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาแตกต่างกันออกไป ยาเหล่านี้อาจมีผลข้างเคียงทางด้านระบบทางเดินอาหารและระบบไตได้
1. ในรายที่เป็นรุนแรง มีอาการมากและข้อถูกทำลายมาก แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่ายา ระดับ 2 ซึ่งได้แก่ ยาต้านมาลาเรีย ยาทอง ยาเมทโธเทรกเซท ยาซัลฟาซาลาซีน เป็นต้น ยาเหล่านี้ไม่มีฤทธิ์ในการระงับการเจ็บปวดแต่จะช่วยระงับการลุกลามของโรคได้ แต่เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงที่รุนแรง จึงควรใช้ในรายที่มีอาการรุนแรงและใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ยาระดับ 2 นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยาปรับเปลียนการดำเนินของโรค -
- ( DMARDs )
2. ยาคอร์โคสเตียรอยด์ เป็นยาที่มีผู้นำเอามาใช้ในการรักษา โรครูมาตอยด์เป็นเวลานานแล้ว เนื่องจากยานี้มีคุณสมบัติในการระงับการอักเสบของข้อได้ แต่จากการศึกษาในระยะหลังๆ พบว่ายาชนิดนี้ไม่ได้ไปเปลียนแปลงการดำเนินของโรคเลย แต่เมื่อใช้ยานี้ไปนาน ๆ ผู้ป่วยจะติดยาและไม่สามารถเลิกยาชนิดนี้ได้ พร้อมทั้งเกิดภาวะแทรกซ้อนจากยาชนิดนี้มากมาย เช่น อ้วน เบาหวาน ความดนโลหิตสูง ตาเป็นต้อกระจก กล้ามเนื้ออ่อนแรง และกระดูกผุ เป็นต้น จึงไม่ควรเป็นอย่างยิ่งในการนำยานี้ไปใช้รักษาผู้ป่วย ยกเว้น ในรายที่มีอาการรุนแรง ไม่สามารถรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว และควรดูแลควบคุมด้วยมือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
3. ยาชีวภาพ ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการทางระบภูมิคุ้มกันที่ทำให้เกิดการอักเสบในดรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ได้แก่ enbrel, remicade, humira,kineret, ยากลุ่มนี้มีประสิทธิภาพสูงและออกฤทธิ์โดยตรงกว่ายากลุ่ม DMARDs แต่มีราคาสูงมากปัจจุบันทีการนำมาใช้รักษาผู้ป่วยที่ตอบสนองไม่ดีต่อการรักษาด้วยยากลุ่ม DMARDs
การรักษาโดยการผ่าตัดจะพิจารณาในการรักษาโรครูมาตอยด์ ในกรณีที่ข้อถูกทำลายไปมากแล้ว หรือกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อน
โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ หรือคนในวัยทองด้วยแล้ว ส่วนใหญ่มักจะนึกถึงภาวะกระดูกพรุน ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อยลง โดยสาเหตุหลักอันหนึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งมีผลทำให้การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลง ดังนั้น การแนะนำให้ทานแคลเซียมเสริมในผู้สูงอายุจึงนับว่าเป้นทางออกที่ดีทางหนึ่งได้ แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่สามารถละเลยในผู้สูงอายุได้ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานอย่างหนักมตลอดชีวิตนั้นคือภาวะข้อเสื่อม ซึ่งเป็นภาวะที่ข้อต่อโดยเฉพาะข้อเข่า และข้อเท้าซึ่งต้องรองรับน้ำหนักมากที่สุดเสื่อมสภาพไป ทำให้เยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อ่ลอดน้อยลง เกิดการเสียดสีจองกระดูกในขณะที่มีการเคลื่อนไหว
ข้อปฏิบัติที่ช่วยยืดอายุของข้อต่อและระบบโครงสร้างของร่างกายของเรา
๑.                          หมั่นออกกำลังกายในลักษณะการยืดเส้นยืดสาย พร้อมการฝึกสมาธิ หรือ ลมปราณควบคู่กันไป เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การรำมวยจีน การฝึกดยคะ ฯลฯ เพื่อเป็นการบริหารข้อต่อให้ใช้งานที่ไม่หนักแต่ใช้สม่ำเสมอ เพื่อให้มีเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อตลอดไปและป้องกันไม่ให้ข้อยึดติดกัน
๒.                        ฝึกท่าทางการนั่ง การยืน การเดิน ให้ถูกสุขลักษณะที่ดี คือไม่ให้ข้อส่วนหนึ่งแบกรับน้ำหนักมากเกินไป การยืนตรงการนั้งหลังตรงไม่นั้งหลังงอ การยกของหนักด้วยท่าที่ถูกต้อง ห้ามใช้หลังรับน้ำหนักในการยกเป็นอันขาดการใช้ที่นอนที่นุ่มจนเกินไปอาจทำให้กระดูกสันหลังงอ และรับน้ำหนัก่มากไปจนเกิดอาการปวดหลังและกลายเห็นหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมได้
๓.                         ควบคุมน้ำหนัก ไม่ปล่อยให้ร่างกายรับโภชนาเกินจนอ้วนได้ จะเป็นภาระกับกระดูกหัวเข่าทั้ง สองข้างที่ต้องแบกรับน้ำหนักร่างกาย
๔.                         งด หรือ ลดการบริดภคแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อสุขภาพของกระดูกและข้อต่อในระยะยาว หรือแม้กระทั้งการใช้ยาบางประเภท เช่นSteroids ซึ่งมีผลให้ข้อเสื่อม และกระดูกผุได้ หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
๕.                         รับประทานอาหารที่มีส่วนในการเสริมสร้าง และซ่อมแซม กระดูกอ่อนที่ข้อต่อคือ Glucosa mine Sulfate และ Chondroitin sulfate ร่วมกัน เพื่อร่างกายนำไปใช้ในการสร้างโปรตีน คอลลาเจน สำหรับกระดูกอ่อนและเอ็น รวมถึงกระตุ่นการสร้างเยื่อเมือกหล่อเลี้ยงข้อต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น