วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคเกาต์

โรคเกาต์
 อาการของโรคเกาต์เป็นโรคข้ออักเสบ ที่มักจะเป็นในผู้ชายที่มีอายุ 40 ปี สำหรับผู้หญิงที่เป็น
โรคเกาต์มักจะปรากฏอาการหลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนแล้วโดยอาการที่เด่นชัดคือ อาการของโรคจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีประวัติอุบัติเหตุ
อาการของโรค
คือ อาการบวมแดงบริเวณรอบข้อโดยไม่มีสาเหตุ และร้อนบริเวณรอบๆข้อ อาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อาการเริ่มแรกมักเกิดอนกลางคือน ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดมากจนบางครั้งถึงกับเดินไม่ได้ และมักจะเป็นข้อเดียว โรคเกาต์มักจะเกิดขึ้นที่ละข้อไม่เกิดขึ้นพร้อมกัน ข้อที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ข้อโคนนิว้หัวแม่เท้า ที่อื่นๆ ได้แก่ ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อต่อของกระดูกเท้าและมือ และข้อศอก อาการเป็นอยู่ประมาณ 5-10 วัน แล้วจะหายไป และโรคจะรุ่นแรงขึ้นเรื่อยๆ







สาเหตุของโรค
โรคเกาต์ไม่ได้เกิดจากอาหารอย่างเดียวโดยที่กรดยูริคเกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีนซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ ขนมปัง เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ไต เป็นต้น ร่างกายจะย่อยพิวรีนจนกลายเป็นกรดยูริค และจะขับออกมาพร้อมปัสสาวะ ในคนปกติกรดยูริคจะถูกสร้างขึ้นในอัตราช้าพอที่ไตจะขับออกได้หมดทันกับการสร้างขึ้นพอดี ในคนที่เป็นโรคเกาต์พบว่าเกิดความผิดปกติของกระบวนการใช้และขับถ่ายสารพิวรีน แต่พบว่าประมาณร้อยละ 90 ของผู้ป่วยเกิดจากการที่กรดยูริคถูกสร้างขึ้นแต่ไตทำหน้าที่ขับถ่ายออกมาได้ช้าหรือน้อยจนทำให้เกิดการสะสมของกรดยูริคมากขึ้นในร่างกายและเกิดเป็นโรคเกาต์

ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์
ได้แก่ โรคอ้วน โรคเบาหวาน ไขมันในเส้นเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดแข็งผิดปกติ
ผู้ที่ได้รับสารตะกั่ว โรคไตวายเรื้อรัง และโรคเลือดบางชนิด  การดื่มเหล้า หรือเครื่องดืมผสมแอลกอฮอล์ จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกาต์เฉพาะการดื่มเบียร์ซึ่งจะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ทันที เพราะเบียร์มีสารกวาโนซีนซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นกรดยูริคในร่างกายได้มาก ส่วนยาบางชนิดเพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคเกาต์ ได้แก่ แอสไพริน , ยาขับปัสสาวะ, ยารักษาโรคพาร์กินสัน , ยากดภูมิคุ้มกัน
การดูแลรักษาโรคเกาต์
แบ่งเป็นการรักษาอาการข้ออักเสบเฉียบพลันให้หายเร็วที่สุด จากนั้นป้องกันไม่ให้เกิดการอักเสบของข้อจากผลึกของกรดยูริค และรักษาภาวะกรดยูริคสูงในเลือด และป้องกันไม่ให้โรครุนแรงมากขึ้น ได้แก่ หลีกเลี่ยงการก่อให้เกิดกรดยูริคสูง ในกระแสเลือด เช่น ภาวะอ้วน มีไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะพวกไทรกลีเซอรัยต์การรับประทานอาหารพวกเครื่องในเนื้อสัตว์ ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางประการโดยเริ่มแรกต้องลดน้ำหนัก ลดระดับไขมันในเลือด งดอาหารพวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะ เครื่องใน เช่น ตับ งดอาหารทะเล ถั่วชนิดต่างๆ รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ควรดื่มน้ำมากๆ เพราะภาวะร่างกายขาดน้ำย่อมทำให้เกิดอาการข้ออักเสบได้ พยายามหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน ที่เป็นอันตรายต่อข้อโดยเฉพาะเรื่องการใส่รองเท้าคับเกินไป
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
ได้แก่ พวกเนื้อเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ตับอ่อน หัวใจ ไส้ สมอง ไต กะปิ ปลาซาดีน ปลาซาดีนกระป๋อง ไข่ปลา น้ำซุปสกัดจากเนื้อสัตว์ น้ำเคี่ยวเนื้อ



อาหารที่ต้องลดจำนวนลง
ได้แก่ เนื้อสัตว์ปลาทุกชนิด และอาหารทะเลอื่นๆ เช่น กุ้ง หอย ปู เบียร์ และเหล้าต่างๆ ถั่วบางชนิด เช่นถั่วเหลือง ถั่วลันเตา ผักบางอย่าง เช่น หน่อไม้ฝรั่ง แอสพารากัส กระหล่ำดอก ผักขม เห็ด
ข้าวโอ๊ด
อาหารที่รับประทานได้ตามปกติ
ได้แก่ ข้าวต่างๆยกเว้นข้าวโอ๊ด ข้าวสาลีที่ไม่ได้สีเอารำข้าวออก ผักผลไม้ น้ำนม ไข่ขนมปังเสริมวิตามิน เนย เนยเทียม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น